เผยขั้นตอน “ถวายหน้ากากทองคำ – หักพระสาง” พิธีสรงน้ำพระบรมศพของพระมหากษัตริย์

ถวายหน้ากากทองคำ อัพเดทข่าวกับ 1000TIPsIT เผยขั้นตอนประวัติศาสตร์ การถวายหน้ากากทองคำ และ หักพระสาง (หวี) ในพิธีสรงน้ำพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ชั้นสูง เฟซบุ๊ก “คลังประวัติศาสตร์ไทย” ได้เผยแพร่ “การถวายหน้ากากทองคำ และหักหวี” ในพิธีสรงน้ำพระบรมศพ ระบุว่า ในการพระราชพิธีพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ชั้นสูงนั้น เมื่อมีการสวรรคต หรือสิ้นพระชนม์ลง ก็จะมีการพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ ถวายเครื่องขาวทรงพระบรมศพ และถวายเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์อย่างเต็มที่ (เครื่องทรงพระบรมศพเต็มยศพระมหากษัตริย์ หรือ พระอัครมเหสี) จากนั้นเจ้าพนักงานถวายพระสาง (หวี) แก่องค์ประธานเพื่อทรงหวีพระเกศาพระบรมศพขึ้นหนึ่งครั้ง ลงหนึ่งครั้ง และขึ้นอีกหนึ่งครั้ง จากนั้นทรงหักพระสางวางที่พานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่ การหักพระสางนี้เป็นปริศนาธรรมอย่างหนึ่ง … คือเพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใด ๆ อีกแล้ว หมดประโยชน์ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ต้องแต่งกายใด ๆ อีกแล้ว ครั้งพิธีสรงน้ำพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นั้น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ผู้เป็นอัครมเหสีทรงเป็นผู้หักพระสางนี้เอง

ถวายหน้ากากทองคำ - หักพระสาง พิธีสรงน้ำพระบรมศพของพระมหากษัตริย์

จากภาพด้านบน พระราชพิธีสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ศรีสวัสดิ์ ประดิษฐานอยู่บนพระแท่น ที่พระพักต์ทรงแผ่นทองคำจำหลักลายก่อนอัญเชิญพระบรมศพลงในพระบรมโกศ

จากภาพด้านล่างซ้าย แผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ พระชฏาห้ายอด และหวีในพิธีสรงน้ำพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาล7

จากภาพด้านล่างขวา บางส่วนจากภาพยนตร์เรื่องสุริโยไทเมื่อเจ้าพนักงานถวายแผ่นพระพักต์ทองคำถวายพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร

จากนั้นเจ้าพนักงานจะถวายขี้ผึ้งแผ่จนเต็มพระพักตร์ และอุดพระทวารทั้งเก้า (สำหรับในอดีตที่ยังไม่มีการถวายยาฉีดฟอร์มาลีน) จากนั้นเจ้าพนักงานจะอัญเชิญ “พระสุพรรณจำหลักปริมณฑลฉลองพระพักตร์” หรือที่เข้าใจง่าย ๆ ก็คือแผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติพระบรมศพ เพื่อไม่ให้เห็นพระพักต์หากพระบรมศพมีสภาพที่มิบังควรเห็น ซึ่งพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ก็รับการถวายแผ่นพระพักต์นี้ปิดที่พระพักต์ตามโบราณราชประเพณีทุกอย่าง เพียงแต่พระศพไม่ได้ทรงพระชฏาห้ายอด ลงที่พระเศียร เพราะพระชฏาห้ายอดนี้ สำหรับพระบรมศพที่ลงประทับนั่งพระโกศ จึงทำได้เพียงอัญเชิญพระชฏาไว้ข้าง ๆ พระเศียร ที่มา – manager, คลังประวัติศาสตร์ไทย